มาอีกแล้วคำศัพท์แปลกๆ ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ SERP ยังไงกัน ผู้เขียนเพิ่งเข้าสู่วงการ SEO ยังต้องเจอคำแปลกด้านนี้บ่อยๆ คนทำSEOเหมือนเป็นโรคจิตอ่อนๆ พวกนี้คอยเฝ้าระวังว่าอันดับเวบไซต์ตัวเองอยู่อันดับไหน อาการคือพอเจอเวบบราวเซอร์เป็นได้ป้อนคีย์เวร์ดค้นหาเพื่อเช็คตำแหน่งอยู่ทุกๆครั้ง
SERP ย่อมาจาก Search Engine Result Page หมายถึงผลลัพธ์ของหน้าที่ถูกค้นหาโดยโปรแกรมเสิร์จเอนจิ้นนั่นเอง ฟังภาษาง่ายๆคืออยู่ในตำแหน่งที่เท่าไรนั่นเอง
ผู้เขียนจะได้หยิบ "SERP ฟรี ดีๆ สักตัว โดย thaiseoservices.com" มาให้ทดลองใช้กันครับ ไปที่เวบไซต์ตามลิงค์นี้เลย http://www.whatsmyserp.com/serpcheck.php
หน้าจอแรกที่เราจะพบก็จะแสดงตามรูป
ขั้นตอนนี้ ให้เลือกไปที่ Region: Thailand (www.google.co.th) เพราะหากเลือกผิดผลลัพธ์การค้นหาจะผิดไปจากความเป็นจริงมาก เราสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้งานฟรีได้ ทาง whatsmyserp ให้เครดิตถึง 14 โดเมน 25 คีย์เวิร์ดต่อโดเมน รวมถึงมีกราฟแสดงประวัติได้ถึง 350 คีย์เวิร์ดทีเดียว 60วัน สำหรับการใช้แบบไม่ลงทะเบียนสูงสุดที่ 20 คีย์เวิร์ดและจะมีข้อมูลค้างที่ cookies ตลอด
ผู้เขียนลองป้อน Domain Name: thaiseoservices.com ไม่ต้องป้อน www ส่วนช่อง Competition Domains เป็นออฟชั่นที่จะให้ป้อนโดเมนคู่แข่ง ในที่นี้ป้อนได้อีก 3 โดเมน จากนั้นป้อนคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหา ผู้เขียนใช้คำค้นว่า "thai seo" และ "รับทำ seo" เลื่อนลงมาด้านล่างกด Check all Keywords จากนั้นรอโปรแกรมทำงาน นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้สมัครลงทะเบียนเพื่อนำมันไปทดสอบ vanvipthailand ของผู้เขียนเพิ่มเติมอีกด้วย
ผลการจัดอันดับของคีย์เวิร์ดแรกอยู่ที่ 37 ส่วนคีย์เวิร์ดที่ 2 ไม่ติดอันดับ พร้อมกันนี้หน้าจอจะบอกถึง Curr คือตำแหน่งปัจจุบัน Prev คือลำดับก่อนหน้า ส่วน Best คือลำดับที่ดีที่สุด หน้าต่างด้านขวามือจะแจงเวบไซต์ที่ติดหนึ่งในสิบอันดับแรก
แค่นี้เราก็มีเครื่องมือดีๆที่เอาไว้ตรวจสอบลำดับ SERP ไม่ต้องคอยทำตัวเป็นโรคจิตอ่อนๆ ค้นหาคีย์เวริ์ดทุกครั้งที่ว่างและมีโอกาส และเหนือสิ่งอื่นใดฟรี ผู้เขียนเองตั้งใจจะเริ่มรับทำ SEO ให้ทางบริษัท ไทย พรอสเพอรัส ไอที จำกัด เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะได้ให้บริการทำ SEO อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557
ชื่อเรื่องหน้าหลัก ซ้ำกับชื่อเรื่องหน้าภายในทำให้ลำดับในการจัดอันดับตก google
ปัญหาที่ไม่คาดคิด และส่งผลกระทบรุนแรงในการทำ SEO ก็คือการตั้งชื่อเรื่องและคำอธิบายแบบรีบด่วนให้เสร็จ ๆ ไปโดยไม่มีการวางแผนไว้ก่อน หน้าหลักก็พิมพ์คำค้นหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พอหน้ารองนึกคำพูดไม่ออกก็ไปคัดเอาคำพูดที่หน้าหลักมาใส่แทน บทลงโทษหนักเอาการ หลังจากที่ผู้เขียนนั่งทำงานที่ไทย พรอสเพอรัส ไอที "พี่เสร็จหรือยังต้องรีบไป" เราก็เลยรีบพิมพ์ชื่อเรื่องแบบด่วน ๆ
ผู้เขียนเองเพิ่งจะประสบปัญหาอันดับเวบไซต์ตก เนื่องจากมีชื่อเรื่องหน้าหลัก(home page title) ซ้ำกันกับชื่อเรื่องหน้าภายใน(internal page title) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีการใช้คำค้นหาหลักซ้ำกัน(keyword) แน่นอนที่สุดทำให้การค้นหาอันดับตกลงไป ยกตัวอย่างของการเขียนชื่อเรื่องซ้ำกัน เช่น
ตัวอย่างของหน้าหลัก(home page title)
"มะม่วงน้ำปลาหวาน มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงยำ ร้านมะม่วงออนไลน์"
ตัวอย่างของหน้าภายใน(internal page title)
"มะม่วงน้ำปลาหวาน มะม่วงทุกชนิด เครื่องปรุงมะม่วง"
บทลงโทษที่Google ให้คือ ขั้นที่เลวร้ายที่สุด ทั้งหน้าหลักและหน้าภายในไม่ถูกจัดอันดับ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงคำค้นหานั้นจะไม่ถูกจัดอันดับ ดูจากกราฟคำค้นหาที่ซ้ำกันประกอบ อันดับปกติจากหน้าแรกตกไปหน้าสุดท้าย และมีท่าทีว่าจะตกต่อไป หากไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่ถ้าหน้าใดหน้าหนึ่งขึ้นอันดับ ก็ควรจะให้หน้าภายในขึ้นอันดับ เพราะจะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องกดคลิกเพิ่ม
อย่างไรก็ตามกูเกิลก็ทราบสาเหตุนี้ดีและได้แก้ไขโดยการทำ indented result ซึ่งกูเกิลเพิ่งเริ่มทำเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี่เอง ผู้เขียนได้ทำการแก้ไขชื่อเรื่องหน้าหลักที่ซ้ำกันของ thailandgpstracker เรียบร้อยแล้ว กำลังดูผลว่าได้ผลจริงหรือไม่ หากสำเร็จจะกลับมาอัพเดทข้อมูลที่เป็นประโยชน์กันต่อไปครับ
ผู้เขียนเองเพิ่งจะประสบปัญหาอันดับเวบไซต์ตก เนื่องจากมีชื่อเรื่องหน้าหลัก(home page title) ซ้ำกันกับชื่อเรื่องหน้าภายใน(internal page title) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีการใช้คำค้นหาหลักซ้ำกัน(keyword) แน่นอนที่สุดทำให้การค้นหาอันดับตกลงไป ยกตัวอย่างของการเขียนชื่อเรื่องซ้ำกัน เช่น
ตัวอย่างของหน้าหลัก(home page title)
"มะม่วงน้ำปลาหวาน มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงยำ ร้านมะม่วงออนไลน์"
ตัวอย่างของหน้าภายใน(internal page title)
"มะม่วงน้ำปลาหวาน มะม่วงทุกชนิด เครื่องปรุงมะม่วง"
บทลงโทษที่Google ให้คือ ขั้นที่เลวร้ายที่สุด ทั้งหน้าหลักและหน้าภายในไม่ถูกจัดอันดับ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงคำค้นหานั้นจะไม่ถูกจัดอันดับ ดูจากกราฟคำค้นหาที่ซ้ำกันประกอบ อันดับปกติจากหน้าแรกตกไปหน้าสุดท้าย และมีท่าทีว่าจะตกต่อไป หากไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่ถ้าหน้าใดหน้าหนึ่งขึ้นอันดับ ก็ควรจะให้หน้าภายในขึ้นอันดับ เพราะจะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องกดคลิกเพิ่ม
อย่างไรก็ตามกูเกิลก็ทราบสาเหตุนี้ดีและได้แก้ไขโดยการทำ indented result ซึ่งกูเกิลเพิ่งเริ่มทำเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี่เอง ผู้เขียนได้ทำการแก้ไขชื่อเรื่องหน้าหลักที่ซ้ำกันของ thailandgpstracker เรียบร้อยแล้ว กำลังดูผลว่าได้ผลจริงหรือไม่ หากสำเร็จจะกลับมาอัพเดทข้อมูลที่เป็นประโยชน์กันต่อไปครับ
วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557
เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับ มือใหม่ SEO โดย thaiseoservices
มือใหม่ SEO จะพบว่า จะมีวิธีตรวจสอบ ชื่อเรื่อง(Title) กับคำอธิบาย (Description) ของแต่ละหน้าได้อย่างไร การเขียนหัวเรื่องและคำอธิบายได้สอดคล้องกันกับคำค้นหา (Keyword) จะช่วยให้ทำการค้นหาเวบไซต์ทำได้ถูกต้อง ที่สำคัญจะทำให้การทำ SEO ขึ้นลำดับได้อย่างผิดหูผิดตาทีเดียว ผู้เขียนชอบใช้งาน Chrome ดังนั้นจึงขอติดตั้ง SERP Preview Tool 1.6.2 extension สำหรับง่ายต่อการใช้งาน
หลังจากติดตั้ง SERP Preview Tool เรียบร้อยก็จะปรากฎไอคอนที่ task bar ของ Chrome เวบบราวเซอร์ทางด้านมุมบนขวามือดังรูป
จะเห็นได้ว่า SERP Preview Tool มีประโยชน์มากทีเดียวในการตรวจสอบการพิมพ์ ชื่อเรื่อง(Title) และคำอธิบาย(Description) ช่วยให้เราประหยัดเวลาในการดูผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการค้นหาผ่านเวบบราวเซอร์ แน่นอนที่สุดผู้เขียนได้ใช้มันทดสอบ thailandgpstracker ซึ่งเป็นบล็อกด้วยมันจะแสดงเฉพาะชื่อเรื่อง ส่วนคำอธิบายจะว่างเปล่า
ผู้เขียนจะได้ทยอยอัพเดท การใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับ มือใหม่ SEO โดย thaiseoservices ไปเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับหลายๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มทำ SEO กันอย่างไร อนึ่งผู้เขียนเองก็ยังคงค้นคว้าเทคนิควิธีการด้านนี้อยู่ด้วยตัวเองอยู่ เหมือนว่าเราเริ่มต้นไปพร้อมๆกัน ขอขอบคุณพื้นที่เวบไซต์ดี ๆจาก ไทย พรอสเพอรัส ไอที พร้อมทั้งติดตามบล็อกอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์
หลังจากติดตั้ง SERP Preview Tool เรียบร้อยก็จะปรากฎไอคอนที่ task bar ของ Chrome เวบบราวเซอร์ทางด้านมุมบนขวามือดังรูป
หลังจากติดตั้งทุกอย่างเรียบร้อยเราก็เริ่มทดสอบกันเลยดีกว่า ไปที่เวบไซต์ที่ต้องการทดสอบ จากนั้นกดปุ่ม SERP Preview Tool จะแสดงข้อความดังหน้าต่างข้างล่าง ในส่วนของ Title คำแนะนำให้ใส่ได้ 70 ตัวอักษร ส่วนคำอธิบายใส่ได้ 156 ตัวอักษร ส่วนการแสดงผลที่ search engine จะแสดงตัวอย่างให้เห็นตามตัวอย่างด้านล่างสุด
ผู้เขียนจะได้ทยอยอัพเดท การใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับ มือใหม่ SEO โดย thaiseoservices ไปเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับหลายๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มทำ SEO กันอย่างไร อนึ่งผู้เขียนเองก็ยังคงค้นคว้าเทคนิควิธีการด้านนี้อยู่ด้วยตัวเองอยู่ เหมือนว่าเราเริ่มต้นไปพร้อมๆกัน ขอขอบคุณพื้นที่เวบไซต์ดี ๆจาก ไทย พรอสเพอรัส ไอที พร้อมทั้งติดตามบล็อกอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)